วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563

ปลากุเลานราธิวาส

ปลากุเลานราธิวาส



ปลากุเลาเค็มตากใบกิโลละ ของฝากสุดพรีเมี่ยมจากนราธิวาส

ราชาแห่งปลาเค็ม
ขอดีตากใบ

ภาษาจังหวัดนราธิวาส

ภาษาจังหวัดนราธิวาส

มาร์วิน บราวน์ (Marvin Brown) ศึกษาภาษาถิ่นของไทยและให้ความเห็นว่าภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบมีวิวัฒนาการมาจากภาษาสุโขทัยโดยตรง ในตากใบเองก็มีตำนานที่เกี่ยวข้องกับเมืองเหนือ เช่น กรุงสุโขทัย จนทำให้ภาษามีเอกลักษณ์เฉพาะ ตำนานแรกเล่าว่าตากใบเคยอยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัย จึงมีขุนนางสุโขทัยเดินทางมาปกครองต่างพระเนตรพระกรรณ จึงสันนิษฐานว่ามีกำแพง และวัง หรือวัดปรักหักพังที่บ้านโคกอิฐ และเมื่อขุนนางสุโขทัยเดินทางมาที่ตากใบแล้วย่อมมีบริวารตามมาหลายคน ด้วยเหตุนี้เอง วัฒนธรรมภาษาพูดเมืองเหนือจึงผสมผสานกับภาษาชาวตากใบ และวัฒนธรรมอื่นๆ เช่น สถาปัตยกรรมในวัด ไม่ว่าจะเป็นวิหาร ศาลาการเปรียญ มีรูปแบบและศิลปะค่อนไปทางเหนือ ส่วนตำนานที่สองกล่าวถึงชาวสุโขทัยติดตามช้างเชือกสำคัญมาทางเมืองใต้ ในที่สุดมาตั้งหลักแหล่งที่ตากใบ เป็นที่น่าสังเกตว่ามีชื่อหมู่บ้าน และตำบลเกี่ยวข้องกับช้าง เช่น บ้านไพรวัลย์ มาจากคำว่า บ้านพลายวัลย์ (ปัจจุบันเป็นตำบลไพรวัน) สถานที่ช้างลงอาบน้ำ เดิมเรียก บ้านปรักช้าง ต่อมาเปลี่ยนเป็น ฉัททันต์สนาน ซึ่งเป็นชื่อวัดในหมู่บ้านนี้ เล่ากันว่ามีช้างสำคัญมาล้มที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ภายหลังเรียกว่า บ้านช้างตาย ปัจจุบันตั้งอยู่ในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันเรียกเป็นภาษามลายูว่า บ้านกาเยาะมาตี อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า เมื่อครั้งทัพไทยสมัยโบราณยกไปตีหัวเมืองมลายู มีคนไทยลงมาตั้งหมู่บ้านคอยต้อนรับกันเป็นทอดๆ จะเห็นว่าปัจจุบันมีบางหมู่บ้านที่มีชาวบ้านพูดจาคล้ายๆเสียงของชาวตากใบ เช่นที่อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี ในจังหวัดปัตตานี และชาวบ้านในอำเภอสุไหงปาดี และอำเภอแว้ง ในจังหวัดนราธิวาส
https://www.youtube.com/watch?v=eBW4xx66Mqo













คำขวัญนราธิวาส

คำขวัญนราธิวาส

“ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นราทัศน์เพลินตา
ปาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน


















อ่าวมะนาว

อ่าวมะนาว
อ่าวมะนาว
ขึ้นชื่อว่า "ประจวบคีรีขันธ์" หลายคนคงคิดถึง "หัวหิน" ชายหาดอันเงียบสงบเมื่อครั้งวันวาน หรือแหล่งท่องเที่ยวสุดอินเทรนด์ ไม่ว่าจะเป็นเพลินวาน, สวนน้ำวานา นาวา หัวหิน หรือตลาดจั๊กจั่น ฯลฯ ทั้งที่จริงแล้วประจวบคีรีขันธ์ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ให้ไปสัมผัสอีกเพียบ ! ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมจะขอพาเพื่อน ๆ ไปเที่ยวอ่าวสุดฮิตของคนประจวบฯ นั่นก็คือ อ่าวมะนาว หาดทรายสวย ๆ น้ำทะเลใส ๆ ร่มรื่นเหมาะกับการพักผ่อน เพราะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ
อ่าวมะนาว อยู่ในเขตกองบิน 5 กองทัพอากาศ ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นหาดสะอาด มีธรรมชาติสวยงาม เหมาะแก่การเล่นน้ำเพราะทะเลไม่ลึก หรือจะเดินเล่นริมชายหาดกินลมชมวิวก็ไม่มีใครว่า ตรงข้ามกับหาดเป็น เขาล้อมหมวก ยามน้ำลดจะปรากฏสันทรายทอดยาวให้เดินไปเที่ยวชมได้
นอกจากนี้บนยอดเขาล้อมหมวกยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง และบริเวณเชิงเขามี ศาลเจ้าพ่อเขาล้อมหมวก ให้ประชาชนได้สักการะ รวมถึงเป็นที่ตั้งของเขตอนุรักษ์พันธุ์ค่างแว่น นักท่องเที่ยวจึงมีโอกาสได้เห็นค่างแว่นที่หาชมยากกันด้วย

https://travel.kapook.com/view9257.html









วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ

ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ

รายละเอียด
จุดเด่นทางด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อ มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางมาท่องเที่ยวและสักการะบูชาตลอดทั้งปี     
ลักษณะเด่น   
- งานสมโภชเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ
- กิจกรรมการแข่งขันเชิดสิงโต
 
ประวัติ

ตั้งอยู่ที่ซอยภูธร ถนนเจริญเขต ในเขตเทศบาลตำบลสุไหงโกลก เดิมทีเจ้าแม่โต๊ะโมะนี้ประดิษฐานอยู่ที่บ้านโต๊ะโมะ อำเภอสุคิริน ต่อมาชาวบ้านได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่อำเภอสุไหงโกลก เป็นที่นับถือของชาวสุไหงโกลก และชาวจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งชาวจีนในประเทศมาเลเซีย ทุกๆ ปี จะมีการจัดงานประเพณีประจำปีที่บริเวณศาลเจ้า ตรงกับวันที่ 23 เดือนสามของจีน (ประมาณเดือนเมษายน) ในงานจะมีกิจกรรมมากมาย เช่น มีการจัดขบวนแห่เจ้าแม่ ขบวนสิงโต ขบวนเองกอ ขบวนกลองยาว และยังมีการลุยไฟด้วย                                                                                        






















อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี

อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี


ข้อมูลทั่วไป
อาณาจักรใบไม้สีทอง
อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในพื้นที่อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ อำเภอยี่งอ อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอระแงะ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีพันธุ์ไม้ที่มีค่านานาชนิด โดยเฉพาะปาล์มบังสูรย์และใบไม้สีทอง มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกต่าง ๆ ตลอดจนมีประวัติศาสตร์เป็นพื้นที่ของผู้ก่อการร้ายในนามขบวนการบูโดและขบวนการพูโล มีเนื้อที่ประมาณ 213,125 ไร่ หรือ 341 ตารางกิโลเมตร 
ในอดีตพื้นที่ของป่าเทือกเขาบูโดและเทือกเขาสุไหงปาดี เป็นพื้นที่ที่มีโจรผู้ร้าย ชุกชุม มีการก่อการร้ายในรูปแบบต่างๆ มากมายในนาม “ขบวนการพูโล” และ “ขบวนการโจรบูโด” จนในปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวได้มีความสงบเรียบร้อยและปลอดภัยมากขึ้นแล้ว ประกอบกับสภาพป่าทั้งสองมีความอุดมสมบูรณ์ และสวยงามตามธรรมชาติ ในปี พ.ศ. 2517 กรมป่าไม้ได้ดำเนินการจัดตั้งวนอุทยานน้ำตกปาโจ ซึ่งอยู่บริเวณป่าเทือกเขาบูโด และในปี พ.ศ. 2519 ได้จัดตั้งวนอุทยานน้ำตกฉัตรวาริน ซึ่งอยู่ในบริเวณป่าเทือกเขาสุไหงปาดีให้อยู่ในความควบคุมดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี
เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปเยี่ยมเยือนประชาชน ในเขตพื้นที่อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอระแงะ ทรงพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2524 ว่า “เทือกเขาสุไหงปาดีมีความสูง 1,800 ฟุต เป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดนราธิวาส มีไอน้ำเกาะทำให้เกิดความชุ่มชื้นและเป็นแหล่งน้ำมีลำธารไหล 3 สาย ควรมีการรักษาแหล่งน้ำอย่างจริงจัง” ซึ่งกองอนุรักษ์ต้นน้ำได้ตรวจสอบแล้วรายงานว่า พื้นที่ป่าบริเวณเทือกเขาสุไหงปาดีมีสภาพดีมาก และมีธรรมชาติที่สวยงาม เห็นควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 740/2525 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2525 ให้ นายสัมพันธ์ มิเดหวัน ไปสำรวจเบื้องต้น ซึ่งได้รับรายงานตามหนังสือ ที่ กษ 0713 (ขป) /พิเศษ ลงวันที่ 11 กันยายน 2526 ว่า บริเวณเทือกเขาสุไหงปาดี อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส มีสภาพภูมิประเทศเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ 
ต่อมากองอุทยานแห่งชาติ ได้รับหนังสือของศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนจังหวัดภาคใต้ ที่ มท 1501/1955 ลงวันที่ 2 กันยายน 2526 และหนังสือสำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี ที่ กษ 0714 (ปน)/1689 ลงวันที่ 8 กันยายน 2526 เสนอความเห็นว่า บริเวณเทือกเขาบูโด จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าชุกชุม มีธรรมชาติสวยงามหลายแห่ง ซึ่งป่าไม้เขตได้มีคำสั่งที่ 222/2526 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2526 ให้นายอภัย หยงสตาร์ นักวิชาการป่าไม้ 4 และนายสุธน จันทร์สว่าง เจ้าพนักงานป่าไม้ 2 ไปสำรวจเบื้องต้นแล้ว เห็นสมควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ 
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0706/1073 ลงวันที่ 22 เมษายน 2527 เสนอนายจำนงค์ โพธิสาโร อธิบดีกรมป่าไม้ ซึ่งได้มีบันทึกลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2527 ให้ดำเนินการกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่าทั้งสองเป็นอุทยานแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 และได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2531 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2531 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ป่าเทือกเขาบูโด ป่าเทือกเขาสุไหงปาดี เป็นอุทยานแห่งชาติ 
ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้ว โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าเทือกเขารือเสาะ ป่ายี่งอ และป่าบาเจาะ ในท้องที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ ตำบลบาเระเหนือ ตำบลกาเยาะมาตี ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ ตำบลสุวารี ตำบลสามัคคี ตำบลรือเสาะออก ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ ตำบลตะปอเยาะ ตำบลลุโบะบายะ ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ และตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ป่ากะรุบี ในท้องที่ตำบลตะโละดือรามัน และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ป่าจะกว๊ะ ในท้องที่ตำบลเกะรอ และตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และป่าบูเก๊ะตาเว แปลงที่ 2 ป่าบองอ และป่าบูเก๊ะตาเว แปลงที่ 1 ในท้องที่ตำบลจวบ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง ตำบลบองอ อำเภอระแงะ ตำบลโต๊ะเด็ง ตำบลริโก๋ ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี และตำบลเกียร์ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 48 ก วันที่ 17 มิถุนายน 2542 เป็นลำดับที่ 95 ของประเทศ
 ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นภูเขาสลับซับซ้อนประกอบด้วยเขาน้ำค้าง เขาบูโละ เขาบือซา เขาบูเก๊ะตอแลจอง เขาบือเกะบือซา เขาบูเก๊ะซามาเลีย มียอดเขาตาเว เป็นยอดเขาสูงที่สุดประมาณ 548 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทราย หินเป็นหินอัคนี บางส่วนเป็นหินปูน และหินกรวดขนาดใหญ่ สภาพป่าจะทอดแนวทางทิศเหนือไปสู่ทิศใต้ เป็นแหล่งต้นกำเนิดแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำสายบุรี และคลองบาเจาะ เป็นต้น
 ลักษณะภูมิอากาศ
มีสภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 2 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน ซึ่งฝนจะตกชุกระหว่างเดือนพฤษภาคม- ธันวาคม และฤดูร้อน ระหว่างเดือน มกราคม-เมษายน
 พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดงดิบขึ้นปกคลุมเทือกเขาทั้งหมด มีไม้ขนาดใหญ่ เช่น ตะเคียน กาลอ ไข่เขียว สยา หลุมพอ นากบุด ตีนเป็ดแดง ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวาย ปาล์ม ใบไม้สีทอง และมีพรรณไม้ที่หายากมีราคาแพงและกำลังจะสูญพันธุ์ คือ “หวายตะค้าทอง” และ “ปาล์มบังสูรย์ หรือลีแป” พบตามบริเวณป่าลึกบนภูเขาสูงและสันนิษฐานว่ามีอยู่แห่งเดียวในป่าบริเวณนี้
ใบไม้สีทอง หรือ ย่านดาโอ๊ะ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauhnia aureifolia เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่นตรงที่มีใบสีทองและผิวใบนุ่มเนียราวกับกำมะหยี่ รูปร่างคล้ายกับใบกาหลงหรือชงโค แต่ขนาดใหญ่กว่า มีขอบหยักเข้าทั้งโคนใบและปลายใบ คล้ายใบรูปไข่สองใบเชื่อมติดกัน พบเห็นได้ทั่วไปในผืนป่าบูโด และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า ประกอบด้วย เก้ง กระจง เลียงผา บ่าง ลิง ค่างแว่นถิ่นใต้ นกอินทรี นกยางเขียว นกกระทา นกเปล้า นกหัวขวานแดง นกกางเขนดงหางแดง นกกางเขนดง นกเงือกปากดำ นกกาฝาก ไก่ป่า เป็นต้น 
อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี
230 หมู่ที่ 4 ถนนพิพิธปาโจ ต.บาเจาะ  อ. บาเจาะ  จ. นราธิวาส   96170
โทรศัพท์ 0 7355 1676 (VoIP), 0 7353 6076  
โทรสาร 0 7355 1676 (VoIP)   อีเมล reserve@dnp.go.th






















ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง
พรุเราต้องเก็บไว้ เพราะมีความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ต้องห้ามไม่ให้บุกรุกเข้าไป คราวนี้เราทำโครงการที่โคกใน เขาจะบุกรุกเข้าไปไม่ได้อีกแล้ว เพราะจำกัดบริเวณเขา ในพรุเราก็ส่งเสริมเอาไม้พรุเพิ่มประสิทธิภาพ อย่างตามข้างทางนี้สวยมากเห็นไม้ต่างๆ ไม้หลาวชะโอนก็มี”
“การกำหนดขอบเขตป่าพรุ ควรกำหนดขอบเขตป่าพรุให้แน่นอน เพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ อันจะทำให้สภาพแวดล้อมเสียหมด”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริไว้เมื่อ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2535

พรุโต๊ะแดง ป่าเดียว น้ำเดียว ในแดนดิน

ป่าพรุ” เป็นป่าลักษณะพิเศษ เป็นป่าไม้ทึบไม่ผลัดใบประเภทหนึ่ง มีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ที่ไม่ได้ขึ้นบน“ดินพรุ”ที่เกิดจากสะสมตัวของซากอินทรียวัตถุ
ป่าพรุมีลักษณะเด่นที่สำคัญยิ่ง คือ เป็นป่าดงดิบที่มีน้ำท่วมขังอยู่ตลอด
สำหรับหนึ่งในป่าพรุผืนสำคัญยิ่งของเมืองไทยก็คือ “ป่าพรุโต๊ะแดง” ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันมีเนื้อที่กว่า 120,000 ไร่ (มีส่วนที่สมบูรณ์จริงๆประมาณ 50,000 ไร่) ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอเมือง
พรุโต๊ะแดง เป็นป่าพรุขนาดใหญ่ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ผืนสุดท้ายของเมืองไทย

มาเณศ บุณยานันต์” หัวหน้าศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร เล่าให้ผมฟังเมื่อครั้งไปเยือนศูนย์ฯแห่งนี้หนล่าสุดว่า ป่าพรุโต๊ะแดงเป็นป่าผืนสำคัญของชาวนราธิวาสมาช้านาน มีทั้งตำนานเรื่องเล่าความเชื่อ เกี่ยวกับที่มาของผืนป่าแห่งนี้ ปัจจุบันแม้ชื่อจริงๆของป่าพรุแห่งนี้จะเรียกขานกันว่า “ป่าพรุโต๊ะแดง” แต่เนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯมายังป่าพรุแห่งนี้หลายครั้ง หลายๆคนจึงยกให้เป็นดังป่าพรุของสมเด็จพระเทพฯ แล้วพากันนิยมเรียกขานป่าพรุแห่งนี้ว่า “ป่าพรุสิรินธร”

ป่าพรุโต๊ะแดง หรือ ป่าพรุสิรินธร มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ปัจจุบันเป็นป่าพรุขนาดใหญ่ผืนสุดท้ายที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีคุณประโยชน์อันหลากหลายทั้งทางตรงทางอ้อมต่อสภาพแวดล้อมและมนุษย์เรา


“มาเณศ บุณยานันต์” หัวหน้าศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร
หลังการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และค้นคว้าวิจัยในเรื่องของป่าพรุตามแนวพระราชดำริมีความก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ คณะดำเนินงานสนองพระราชดำริมีความเห็นว่าเพื่อให้งานด้านการพัฒนาป่าพรุเป็นไปอย่างสอดคล้องผสมผสานกันทั้งในด้านการอนุรักษ์ พัฒนา และการค้นคว้าวิจัย จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร” ขึ้นที่ ต.ปูโยะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส


https://mgronline.com/travel/detail/9590000110516
















































ชายหาดนราทัศน์

ชายหาดนราทัศน์ 

รายละเอียด
ชายหาดนราทัศน์เป็นชายหาดที่มีความสวยงาม มีแนวสนอันร่มรื่น เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ บนหาดมีหมู่บ้านชาวประมงตั้งกระจัดกระจายอยู่ด้วย นอกจากนั้นตรงเวิ้งอ่าวยังมีเรือกอของชาวประมงจอดอยู่มากมาย เป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทหาดทรายชายทะเล เป็นแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
 ลักษณะเด่น
-เดินเล่นตามชายหาด
-เล่นน้ำ
-ถ่ายรูป
-รับประทานอาหาร
ประวัติ
เป็นชายหาดที่กว้าง ทรายขาวสะอาด มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร โดยเฉพาะบริเวณแหลมด้านปากน้ำบางนรา ชายหาดสวยงามมาก มีโครงการจัดพื้นที่ใกล้กับปลายแหลมด้านเหนือเป็นสระว่ายน้ำสำหรับประชาชนทั่วไป




วัดชลธาราสิงเห

วัดชลธาราสิงเห (วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย)
วัดแห่งนี้สร้างขึ้นโดยพระสงฆ์รูปหนึ่งเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ในชุมชนเก่าแก่ที่มีภาษาเป็นของตัวเอง ผมเชื่อว่าท่านก็คงไม่รู้ว่าราว 40 ปีต่อมา วัดแห่งนี้จะกลายเป็นเหตุผลสำคัญในการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับมาเลเซีย ที่ช่วยรักษาให้พื้นที่นี้ยังคงอยู่ใต้การปกครองของสยาม
วันนี้ผมจะขอพาไปชมวัดชลธาราสิงเห หรือวัดพิทักษ์แผ่นดินไทย ครับ
เมื่ออารามช่วยรักษาดินแดนตากใบให้คงอยู่กับประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน

วัดชลธาราสิงเหตั้งอยู่บนเนินทรายระหว่างแม่น้ำตากใบกับพรุบางน้อย พระครูโอภาสพุทธคุณ (พุด) เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นราว พ.ศ. 2403 โดยขอที่ดินจาก พระยาเดชานุชิตมหิศรายานุกูลวิบูลย์ภักดี หรือตุวันสนิปากแดง ผู้เป็นพระยากลันตันในเวลานั้น
ในตอนแรกวัดแห่งนี้ถูกเรียกว่า วัดท่าพรุ หรือวัดเจ๊ะเห ตามชื่อหมู่บ้านที่วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ ต่อมาใน พ.ศ. 2416 พระอาจารย์พุดได้สร้างพระอุโบสถ โดยมอบหมายให้พระไชยวัดเกาะสะท้อนเป็นช่างก่อสร้างรวมทั้งเขียนจิตรกรรม มีพระธรรมวินัย (จุ้ย) และทิดมี ช่างชาวสงขลา ร่วมเขียนภาพในพระอุโบสถและกุฏิ พร้อมสร้างพระประธาน กำแพงแก้วล้อมพระอุโบสถ เมื่อสร้างเสร็จจึงขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใน พ.ศ. 2426 ก่อนที่จะบูรณะปรับปรุงและก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมในเวลาต่อมา 
วัดแห่งนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชลธาราสิงเหอย่างที่เราเรียกกันในปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2452 โดย ขุนสมานธาตุวฤทธิ์ (เปลี่ยน กาญจนรัตน์) นายอำเภอตากใบ ซึ่งชื่อใหม่ของวัดมีความหมายว่า วัดริมน้ำที่สร้างด้วยภิกษุที่มีบุญฤทธิ์ประดุจราชสีห์ เนื่องจากวัดแห่งนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำตากใบ อีกทั้งพระภิกษุผู้สร้างวัดคือพระครูโอภาสพุทธคุณ พระที่ชาวบ้านนับถือศรัทธา และเป็นที่เกรงขามประดุจราชสีห์
นอกจากประวัติที่เล่าให้ฟังไปแล้ว ความสำคัญจริงๆ ของวัดนี้คือเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ เพราะในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อสยามมีกรณีพิพาทกับสหราชอาณาจักรเรื่องการปักปันเขตแดน เพราะสหราชอาณาจักรได้ปักปันเขตแดนเข้ามาถึงบ้านปลักเล็ก ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากวัดชลธาราสิงเหราว 25 กิโลเมตร ล้ำเข้ามาจากเขตแดนปัจจุบันถึง 30 กิโลเมตร แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแย้งโดยให้เหตุผลว่า วัดชลธาราสิงเหและวัดอื่นในละแวกนี้เป็นศิลปกรรมไทยอย่างแท้จริงและเป็นมรดกทางพุทธศาสนาที่สำคัญ จึงควรอยู่ภายใต้การพิทักษ์รักษาของสยาม
ฝ่ายอังกฤษยอมรับและเห็นพ้องว่าหากพุทธศิลปกรรมที่ทรงคุณค่าต้องตกอยู่ใต้การปกครองของมลายู อาจถูกทอดทิ้งหรือทำลาย ฝ่ายอังกฤษจึงต้องเลื่อนจุดปักปันเขตแดนลงไปทางใต้ โดยใช้แนวแม่น้ำตากใบ-สุไหงโก-ลกเป็นพรมแดนแทน ทำให้อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงโก-ลก และบางส่วนของอำเภอแว้ง ที่เคยอยู่ใต้การปกครองของรัฐกลันตันยังคงอยู่กับประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของชื่อ ‘วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย’
ฟังประวัติอันน่าสนใจของวัดและที่มาของชื่อวัดกันแล้ว ได้เวลาไปชมตัววัดกันแล้วครับ

วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย เมื่ออารามช่วยรักษาดินแดนตากใบให้คงอยู่กับประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน

วัดชลธาราสิงเหมีพระอุโบสถขนาดกำลังดี ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว หันหน้าไปทางแม่น้ำตากใบ
เรื่องหนึ่งที่ผมไม่ได้เล่าไปก่อนหน้าเพราะรู้สึกว่ามันจะยาวเกินไปก็คือ พระอุโบสถหลังนี้ไม่ใช่หลังแรกของวัด เพราะแต่ดั้งแต่เดิมเคยมีโบสถ์น้ำที่ตั้งอยู่กลางแม่น้ำมาก่อนด้วยครับ
พระอุโบสถหลังนี้ไม่ได้แตกต่างจากพระอุโบสถของภาคกลางหรือในกรุงเทพมหานครเท่าไหร่ หน้าบันมีรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ มีเทวดาคู่หนึ่งถือป้ายที่มีตัวเลข 2416 บอกปีที่พระอุโบสถถูกสร้างขึ้น
แต่ที่เรียกได้ว่าต่างจากพระอุโบสถส่วนใหญ่ คือจิตรกรรมที่ตกแต่งโดยรอบอุโบสถ ไม่เพียงเฉพาะหน้าบัน ซึ่งเจาะเป็นช่องเล็กๆ และใส่รูปคนเข้าไป แถมยังแทรกภาพชาวมุสลิมและพราหมณ์เอาไว้ด้วย เก๋ไก๋ยิ่งนัก


https://readthecloud.co/chon-thara-singhe-temple-phitak-pan-din-thai-temple-narathiwat/